[การศึกษาสายสามัญ]

การรับสมัคร

โครงสร้าง/หลักสูต

ทะเบียนการประเมินผลการเรียน

  ระดับประถมศึกษา
  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

  ระดับประถมศึกษา
  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

เกณฑ์การจัด
การลาออก
การสำเร็จการศึกษษ
 การออกหลักฐานการศึกษา

การรับสมัคร นักเรียน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

ระดับประถมศึกษา

 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

 


หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ

กรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้ปรับปรุงหลักสูตรเดิม คือ หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 1 – 2 หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 3 – 4 หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ ระดับที่ 5 ให้เป็น หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยให้มีวิธีเรียน 3 วิธี คือ วิธีเรียนชั้นเรียน (Classroom Learning) วิธีเรียนทางไกล (Distance Learning) และวิธีเรียนด้วยตนเอง (Independent Learning) วิธีเรียนทั้ง 3 วิธีนี้ ผู้เรียนสามารถเรียนได้พร้อมกัน แต่ไม่ซ้ำวิชา

หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับประถมศึกษา พ.ศ. 2531   

หลักการ มี 4 ข้อ
  
  1   เป็นการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม อันเป็นพื้นฐานให้เห็นช่องทางสำหรับประกอบอาชีพ
     2   มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน อนาคต
     3   มุ่งสร้างเอกภาพของชาติ    
      4    มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดี

 จุดมุ่งหมาย มี 7 ข้อ

  1. ให้มีความรู้ความสามารถและมีทักษะที่เป็นพื้นฐานในการศึกษาเพิ่มเติมและแนวทางในการประกอบอาชีพ
  2. ให้รู้จักคิด รู้จักแก้ปัญหา โดยคำนึงถึงกระบวนการคิดเป็น ซึ่งมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3

    ประการ คือ ข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเอง สังคมสิ่งแวดล้อม และข้อมูลที่เกี่ยวกับวิชาการ

  3. ให้เข้าใจปัญหาพื้นฐานทางการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
  4. เห็นคุณค่าและดำรงไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  5. เห็นคุณค่าของภาษาไทย ทักษะในการใช้ภาษาไทยได้ดี
  6. เป็นพลเมืองดี มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักสิทธิหน้าที่และหน้าที่พลเมือง
  7. มีเจตคติที่ดีต่อสัมมาอาชีพ ขยัน อดทน ประหยัด รู้จักสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

 โครงสร้างของหลักสูตร

  1. กลุ่มสภาพประสบการณ์พื้นฐาน (บังคับ) รวม 190 สภาพ ได้แก่

1.1 พื้นฐาน 1 (100 สภาพ) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
- อนามัย 34 สภาพ

1.2 พื้นฐาน 2 (50 สภาพ) แบ่งเป็น 9 กลุ่ม ประกอบด้วย
- การศึกษา 2 สภาพ
- สังคม 15 สภาพ
- การเมือง 2 สภาพ
- อาชีพ – เศรษฐกิจ 4 สภาพ

- วิทยาศาสตร์ – เทคโนโลยีชนบท 6 สภาพ
- นิเวศน์วิทยา 10 สภาพ
- อนามัย - สุขาภิบาล 6 สภาพ
- โภชนาการ 3 สภาพ
- การสื่อสาร 2 สภาพ

3. พื้นฐาน 3(30สภาพ)บูรณาการจากอาชีพท้องถิ่นทักษะภาษาไทยและทักษะคณิตศาสตร์ ดังนี้

ทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน 1 และ 1 ประกอบด้วย เนื้อหา ดังนี้

    1. จำนวนและตัวเลข 7 หลัก และการใช้เครื่องหายจุลภาค
    2. การคูณและการหาร การหาผลคูณระหว่างจำนวนที่ไม่เกิน 3 หลัก
    3. การวัด การชั่ง การตวง
    4. เศษส่วน
    5. ทศนิยม (วิธีการปัดทศนิยมเหลือ 2 ตำแหน่ง)
    6. ร้อยละ
    7. เงิน และการบันทึกทางการเงิน

4. พื้นฐาน 4 (10 สภาพ) มี 2 ตอน คือ

ตอนที่ 1 ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับกิจกรรมพบกลุ่ม

ตอนที่ 2 ภาคปฏิบัติกิจกรรมการพบกลุ่ม

  1. กลุ่มสภาพประสบการณ์เสริม (เลือก) รวม 60 สภาพ

           ภาษาต่างประเทศ 1 20 สภาพ
        ภาษาต่างประเทศ 2 20 สภาพ
        อาชีพ (ทักษะ) 30,60 สภาพ เลือกเรียนหรือเทียบโอน ได้ไม่น้อยกว่า 30 หรือ 60 สภาพ โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมง/ สภาพ

 เวลาเรียน

    1. ในปีหนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียน
    2. หลักสูตรที่กำหนดให้เรียนกลุ่มสภาพประสบการณ์พื้นฐาน (บังคับ) 190 สภาพ

และกลุ่มสภาพประสบการณ์เสริม (เลือก) ไม่น้อยกว่า 60 สภาพ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 250 สภาพ

 เกณฑ์การจบหลักสูตร

ต้องสอบได้กลุ่มสภาพประสบการณ์พื้นฐาน (บังคับ) 190 สภาพ และกลุ่มสภาพ

ประสบการณ์เสริม(เลือก)ไม่น้อยกว่า60สภาพรวม250สภาพใช้เวลาเรียนไม่น้อยกว่า500ชั่วโมงยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียนอาจจบได้ก่อนกำหนด

หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  พ.ศ 2530

หลักการ   หลักการของหลักสูตร มี 8 ข้อ

    1. เน้นการเลือกกลุ่มวิชาตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจ เพื่อผู้เรียนจะยึด

      เป็นอาชีพต่อไป

    2. มุ่งฝึกผู้เรียนให้มีประสบการณ์ เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญที่สามารถจะนำไปใช้

      ปฏิบัติ และประกอบอาชีพได้จริง

    3. มุ่งให้ผู้เรียนใฝ่ใจแสวงหา ความรู้ความจริง เพื่อให้เกิดความงอกงามทางสติปัญญา
    4. มุ่งปลูกฝังคุณธรรม และความกล้าทางจริยธรรม เน้นการประพฤติปฏิบัติ
    5. มุ่งเน้นการผสมผสานความรู้กับการปฏิบัติให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจสังคม และ

      การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

    6. มุ่งเน้นการเลือกเฟ้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปใช้ในการพัฒนา
    7. สนับสนุนให้ผู้เรียนร่วมมือกันใช้ความรู้ ความสามารถ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

      และการพัฒนาสังคม

    8. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ และทักษะจากแหล่งวิทยาการ สถาน

ประกอบการ และสถานประกอบอาชีพอิสระ

จุดมุ่งหมาย

จุดมุ่งหมายของหลักสูตรมี 7 ข้อ

    1. เพื่อให้รู้จักดำรงชีวิตบนพื้นฐานแห่งคุณธรรม ไม่เป็นผู้เบียดเบียน มีความซื่อสัตย์

      สุจริต

    2. รู้จักวิธีการเรียนรู้ คิดเป็น ทำเป็น รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีนิสัย

      ใฝ่หาความรู้ รักการทำงาน สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ

    3. มีความรู้ ทักษะในวิชาชีพเพียงพอแก่การดำเนินชีวิต มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพ รู้ช่อง

      ทางในการประกอบสัมมาชีพ

    4. มีความรู้ความเข้าใจเห็นคุณค่าในวิทยาการ ศิลป วัฒนธรรม
    5. เคารพสิทธิ เสรีภาพของผู้อื่น รู้จักหน้าที่ รู้จักใช้สิทธิเสรีภาพ บนรากฐานแห่ง

      กฎหมาย จริยธรรมและศาสนา

    6. สำนึกในการเป็นคนไทยร่วมกัน เสียสละเพื่อส่วนรวม มีความรักชาติ รัก

      ประชาธิปไตย

    7. เข้าใจพื้นฐานและปัญหาการเมือง เศรษฐกิจสังคมของประเทศ และของโลก

ปัจจุบัน มีความสำนึกในการเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ รู้จักแก้ปัญหา

โครงสร้างของหลักสูตร

    1. หมวดวิชาบังคับ มี 5 หมวดวิชา (36 หน่วยการเรียน) ได้แก่
    1. ภาษาไทย 1 (6 หน่วยการเรียน)
    2. สังคมศึกษา 1 (6 หน่วยการเรียน)
    3. พลานามัย (6 หน่วยการเรียน)
    4. วิทยาศาสตร์ (6 หน่วยการเรียน) เลือก 1 สาขา จาก

      - วิทยาศาสตร์ 1(วิทยาศาสตร์กายภาพชีวิภาพ) เลือกเรียนวิทยาศาสตร์ 3 ไม่ได้

      - วิทยาศาสตร์ 2 (ฟิสิกส์ เคมี ชีวิวิทยา) เลือกเรียนวิทยาศาสตร์ 3 ได้

    5. พื้นฐานวิชาอาชีพ (12 หน่วยการเรียน) ได้แก่  (ให้เลือกเรียนเพียง 1 หมวด)

- ช่างอุตสาหกรรม
- เกษตรกรรม
- คหกรรม
- พานิชยกรรม
- ศิลปหัตถกรรม
- ศิลปกรรม

2. หมวดวิชาเลือก เดิม 6 หมวดวิชา และเพิ่มเติม 10 หมวดวิชา (เลือกเรียนไม่น้อยกว่า 39 หน่วยการเรียน) ได้แก่

    1. ภาษาไทย 2 (13 หน่วยการเรียน)
    2. สังคมศึกษา 2 (13 หน่วยการเรียน)
    3. วิทายศาสตร์ 3 (13 หน่วยการเรียน)
    4. คณิตศาสตร์ (13 หน่วยการเรียน)
    5. ภาษาต่างประเทศ (13 หน่วยการเรียน)
    6. วิชาอาชีพ
  1. หมวดวิชาเลือกเพิ่มเติม จำนวน 10 หมวดวิชา คือ
    1. หมวดวิชาภาษาไทยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
    2. หมวดวิชาสังคมกับชีวิต
    3. หมวดวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
    4. หมวดวิชาวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาอาชีพ
    5. หมวดวิชาการยกระดับอาชีพ
    6. หมวดวิชาการศึกษาช่องทางการประกอบอาชีพ
    7. หมวดวิชาการฝึกทักษะและฝึกการประกอบการเฉพาะอาชีพ
    8. หมวดวิชาอาชีพสัมพันธ์

(1) ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ มี 7 รายวิชา ๆ ละ 3 หน่วยการเรียน

(2) คอมพิวเตอร์ มี 16 รายวิชา

- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2 หน่วยการเรียน

- โปรแกรมการฝึกพิมพ์ 1 หน่วยการเรียน

- โปรแกรมประมวลผลคำเบื้องต้น 2 หน่วยการเรียน

- โปรแกรมประมวลผลคำขั้นสูง 2 หน่วยการเรียน

  1. (3) การจัดการ มี 9 รายวิชา ๆ ละ 3 หน่วยการเรียน

หมวดวิชาพื้นฐานเฉพาะอาชีพ

หมวดวิชาเสริมอาชีพ

  1. หลักเกณฑ์การใช้หลักสูตร
    1. การเรียนการสอน

      ผู้เรียนสามารถ ลงทะเบียนเรียนได้ทุกวิธีเรียน (- ตนเอง - ทางไกล - ชั้นเรียน –

      วิธีอื่นตามที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด) และนำผลการเรียนแต่ละวิธีมาประเมินผลร่วมกัน กับทั้งสามารถโอนผลการเรียนระหว่างการศึกษาในระบบ กับการศึกษานอกระบบได้ด้วย

    2. เวลาเรียน

      ในปีการศึกษาหนึ่ง ๆ ให้แบ่งภาคการเรียนออกเป็น 2 ภาค และอาจเปิดภาคฤดูร้อน

      นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนตามหลักสูตร  ไม่น้อยกว่า 4 ภาคเรียน ยกเว้นกรณีที่มีการเทียบโอนผลการเรียน

    3. ข้อกำหนดหมวดวิชาอาชีพ   เรียนครบ  250 ชั่วโมง ให้เทียบโอนได้ 1 หมวดวิชา

เกณฑ์การจบหลักสูตร   

             นักศึกษาที่จะจบหลักสูตร มัธยมศึกษาตอนปลายได้ จะต้องผ่านเกณฑ์ ดังนี้

    1. ต้องสอบได้วิชาบังคับ 5 หมวดวิชา (36 หน่วยการเรียน) วิชาเลือกไม่น้อยกว่า

      3 หมวดวิชา (39 หน่วยการเรียน) รวมแล้ว 8 หมวดวิชา ไม่น้อยกว่า 75 หน่วยการเรียน

    2. ต้องมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรม ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75 ของเวลาที่กำหนดตลอดหลักสูตร
    3. ต้องเข้าร่วมกิจกรรม กพช. หรือเทียบโอนไม่น้อยกว่า 48 หน่วย

 

กิจกรรม กพช.

        กิจกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต  (กพช.)  เป็นกิจกรรมบังคับ ตามหลักสูตร  ผู้เรียนจะต้องร่วมกิจกรรมตามที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด คือ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) สถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการทำงาน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม

 วัตถุประสงค์

    1. เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้กระบวนการกลุ่ม แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์โดยฝึก

      ทักษะความมีเหตุผล หารคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น

    2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน สังคม เกิดความรู้สึกผูกพันเป็น

      ส่วนหนึ่งของชุมชน และสังคมอย่างแน่นแฟ้น อีกทั้งมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและชุมชน

    3. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักทำนุบำรุงศาสนา มีระเบียบ วินัย มี

ความรับผิดชอบ และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

 ลักษณะของกิจกรรม

    1. เป็นกิจกรรมหรือโครงการที่ใช้กระบวนการกลุ่ม โดยมีประชาชนเข้าร่วมอย่างชัดเจน
    2. ใช้หลักการประสานงาน
    3. เพื่อการแก้ปัญหา
    4. ได้ปรึกษาหารือและการรับรองจากหัวหน้าสถานศึกษา
    5. ไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ สำหรับผู้เรียน แต่ผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
    6. ส่งเสริมการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม

 

ขอบข่ายการจัดกิจกรรม จัดเป็น 2 ตอน ได้แก่

    1. ภาคทฤษฎี
      1. โครงสร้างและกิจกรรมการพบกลุ่ม
      2. บทบาทผู้นำ ผู้ตามที่ดี
      3. ประโยชน์ของการพบกลุ่ม
      4. บทบาทหน้าที่ของสมาชิกกลุ่ม
      5. กระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น
      6. คุณธรรม จริยธรรม
      7. มนุษยสัมพันธ์
      8. วิธีการเขียนโครงการ
      9. การวางแผนและประโยชน์ของการวางแผน

      1.10.กระบวนการกลุ่มและการแก้ปัญหาสังคม

      1.11 คุณสมบัติที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม

    2. ภาคปฏิบัติ
      1. กิจกรรมศาสนา ศิลป วัฒนธรรม และประเพณี
      2. กิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคม
      3. กิจกรรมสนับสนุนการศึกษานอกโรงเรียน

 เกณฑ์การจัด

ระดับประถมศึกษา เรียนภาคทฤษฎี 20 ชั่วโมง และทำกิจกรรม 20 ชั่วโมง

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคทฤษฎี 10 ชั่วโมง และทำกิจกรรม 42 ชั่วโมง

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคทฤษฎี 10 ชั่วโมง และทำกิจกรรม 48 ชั่วโมง

 การประเมินกิจกรรม ประเมินจาก

    1. ประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ
    2. การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
    3. ความยากง่ายในการดำเนินงาน
    4. การใช้กระบวนการกลุ่ม
    5. ความเหมาะสมในการใช้เวลาปฏิบัติงาน
    6. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
    7. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ลักษณะการสอนที่ดี การสอนที่ดีควรมีลักษณะ ดังนี้

    1. มีการส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการกระทำ การได้ลงมือทำจริง ให้ประสบการณ์ที่

      มีความหมาย

    2. มีการส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น

      ยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกัน การทำงานร่วมกับผู้อื่น

    3. มีการตอบสนองความต้องการของผู้เรียน เรียนด้วยความสุข ความสนใจกระตือรือร้น

      ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ

    4. มีการสอนให้สัมพันธ์ระหว่างวิชาที่เรียนกับวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรเป็นอย่างดี
    5. มีการใช้สื่อการสอน จำพวกโสตทัศนวัสดุ เพื่อเร้าความสนใจ ช่วย ผู้เรียนเข้าใจบท

      เรียนได้ง่ายขึ้น

    6. มีกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเร้าความสนใจ ผู้เรียนสนุกสนาน ได้ลงมือปฏิบัติจริง

      และดูผลการปฏิบัติของตนเอง

    7. มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ด้วยการซักถาม หรือให้แสดงความ

      คิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาง่าย ๆ เด็กคิดหาเหตุผลเปรียบเทียบ และพิจารณาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ

    8. มีการส่งเสริมความคิดริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการคิดทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีมี

      ประโยชน์ไม่เลียนแบบใคร ส่งเสริมกิจกรรมสุนทรียภาพ ร้อยกรอง วาดภาพ และแสดงละคร

    9. มีการใช้การจูงใจ ในระหว่างเรียน เช่น รางวัล การชมเชย คะแนนแข่งขัน เครื่องเชิดชู

      เกียรติ การลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจ ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรในการเรียนและทำกิจกรรม

    10. มีการส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามแบบประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น

      มีการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น ยกย่องความคิดเห็นที่ดี นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกับครู

    11. มีการเร้าความสนใจก่อนลงมือทำการสอนเสมอ
    12. มีการประเมินผลตลอดเวลา โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การสังเกต การซักถาม การทดสอบ

เพื่อให้แน่ใจว่าการสอนของครูตรงตามจุดประสงค์มากที่สุด

 หลักฐานการศึกษา

ให้สถานศึกษาจัดให้มีเอกสารต่อไปนี้ (ระเบียบข้อ 16)

    1. รายการสรุปผลการเรียน (รป.1 รต.1 รย.1)
    2. รายการแสดงผลการเรียน (รป.2 รต.2 รย.2)
    3. รายงานแสดงผู้จบหลักสูตร (รป.3 รต.3 รย.3)
    4. ทะเบียนเวลาเรียนและการประเมินผลแบบชั้นเรียน (รป.4 รต.4 รย.4)
    5. ทะเบียนประเมินผลการเรียนแบบทางไกล (รป.5 รต.5 รย.5)

การสอบซ่อม

ข้อกำหนดของการสอบซ่อม

    1. สอบซ่อมแต่ละหมวดวิชาได้ไม่เกิน 1 ครั้ง
    2. ผู้ที่ผ่านการสอบซ่อมจะได้ระดับผลการเรียนไม่เกิน 1
    3. ผู้ที่สอบซ่อมไม่ผ่านจะได้ระดับผลการเรียนเป็น 0

 ผู้มีสิทธิสอบซ่อม

    1. เข้าสอบปลายภาคเรียน ได้คะแนนระหว่างภาคและปลายภาคเรียนน้อยกว่าร้อยละ 50
    2. ได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์

ขั้นตอนการสอบซ่อม

    1. ยื่นคำร้องภายใน 7 วัน นับแต่ทราบผลการสอบ
    2. ลงทะเบียนสอบ อัตราหน่วยการเรียนละ 5 บาท
    3. ประสาน รับข้อสอบ จาก ศนจ.
    4. สอบและประเมินผลการสอบให้เสร็จก่อนปิดการลงทะเบียน

ในภาคเรียนถัดไป

 

ทะเบียนการประเมินผลการเรียน

การบันทึกเวลาพบกลุ่ม ให้บันทึกเวลาพบกลุ่ม และการประเมินผลการเรียนเป็นรายหมวดวิชา ให้บันทึกเวลาพบกลุ่ม และการประเมินผลการเรียนเป็นรายหมวดวิชา
การบันทึกการประเมินผลการเรียน อัตราส่วนคะแนนระหว่างภาคและปลายภาค
เกณฑ์ของการผ่านหมวดวิชา ให้บันทึกตามข้อต่อไปนี้

    1. หมวดวิชา………(ให้ลงชื่อหมวดวิชาที่ลงทะเบียนเรียน)
    2. จุดประสงค์ของหมวดวิชา……..(ดูจากหลักสูตร)
    3. อัตราส่วนของคะแนนระหว่างภาคต่อคะแนนปลายภาคเรียน….เช่น 40 : 60
    4. อัตราส่วนของคะแนนด้านต่าง ๆ ของคะแนนระหว่างภาคเรียน เช่น
    1. อัตราส่วนของคะแนนด้านต่าง ๆ ของคะแนนปลายภาคเรียน
    2. ตารางการวัดผลระหว่างภาคและปลายภาคเรียนพร้อมทั้งวิธีวัดผล
    3. รายละเอียดอื่น ๆ ที่จะช่วยเตือนความจำและข้อตกลงร่วมกันระหว่างครูกับนักศึกษา

เช่น PORT FOLIO หรือ PROJECT DESING การทำรายงาน

 

การออกหลักฐานการศึกษา

1. ใบรับรอง

ขั้นตอนการออกใบรับรอง

    1. นักศึกษายื่นคำร้องตามแบบพร้อมรูปถ่าย 4 x 5 ซม.จำนวน 2 รูป
    2. เจ้าหน้าที่ทะเบียนตรวจสอบแล้วลงทะเบียนคำร้อง
    3. เจ้าหน้าที่ทะเบียนจัดทำใบรับรอง ติดรูปถ่ายที่ใบคำร้อง 1 รูป ใบรับรอง 1 รูป
    4. นายทะเบียนตรวจสอบและลงนามรับรองรูปถ่าย (คาบเกี่ยวที่รูปถ่าย)
    5. หัวหน้าสถานศึกษาลงนามใบรับรอง
    6. ประทับตราประจำสถานศึกษาที่ลายมือชื่อหัวหน้าสถานศึกษา (ไม่ใช่ที่รูปถ่าย)
    7. ให้นักศึกษาลงนามรับใบรับรองในทะเบียนรับคำร้อง แจ้ง วัน เดือน ปี ที่รับ

 

2. ระเบียนแสดงผลการเรียน

ขั้นตอนการออกระเบียนแสดงผลการเรียน

1. นักศึกษายื่นคำร้องตามแบบพร้อมรูปถ่าย 4 x 5 ซม.จำนวน 2 รูป

2.. เจ้าหน้าที่ทะเบียนตรวจสอบแล้วลงทะเบียนคำร้อง

    1. เจ้าหน้าที่ทะเบียนจัดทำ โดย
    1. ตรวจสอบประวัติ
    2. ตรวจสอบผลการเรียนจาก IT
    3. ตรวจกิจกรรม กพช.

4. นำข้อมูลบันทึกข้อมูลในโปรแกรม IT

  1. 5. ติดรูปถ่ายที่ใบคำร้อง 1 รูป และใบรับรอง 1 รูป
  2. 6. นายทะเบียนตรวจสอบและลงนามรับรองรูปถ่าย(คาบเกี่ยวที่รูปถ่าย)

    7. หัวหน้าสถานศึกษาลงนามใบรับรอง

  3. 8. ประทับตราประจำสถานศึกษา
  4. 9. ให้นักศึกษาลงนามรับใบรับรอง